
คนกรุงเทพอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับความลำบากที่ต้องเผชิญกับปัญหามลพิษ จนกระทั่งวันนี้ที่หลายคนสังเกตุเห็นหมอกปกคลุมกรุงเทพ แล้วอาจจะเขาใจผิดว่าเป็นหมอกจากอากาศที่เย็นลง ซึ่งในที่สุดทางราชการก็ได้ออกมายอมรับแล้วว่าหมอกที่เห็นไม่ใช่สภาพภูมิอากาศหนาวเย็น แต่เป็นหมอกควันมลพิษที่คนกรุงต้องเผชิญ
สกิลทรีจึงเอาแอพเช็คข้อมูลมลพิษทางอากาศ มาแนะนำไว้ให้ดาว์นโหลดติดมือถือไว้ สำหรับตรวจสอบค่ามลพิษก่อนออกจากบ้านกันง่ายๆ
1. Air4Thai
แอปพลิเคชันของคนไทยจากกรมควบคุมมลพิษ ที่มีสถานีตรวจวัดค่ามลพิษในอากาศอยู่ทั่วประเทศไทย ซึ่งระบบจะทำการแสดงข้อมูลระดับมลพิษที่อยู่ใกล้กับคุณมากที่สุด แต่จากการเปรียบเทียบแล้วก็ไม่รู้ว่าทำไมมักจะบอกค่ามลพิษต่ำกว่าแอปพลิเคชันอื่นๆ
2. AirVisual
แอพตัวนี้ถือว่าค่อนข้างดีเลย เนื่องจากมีการระบุตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับเรามาที่สุดจาก GPS บนมือถือเรานั่นเอง จะแสดงข้อมูลทั้งสภาพอากาศและค่าระดับมลพิษ ซึ่งสามารถดูพยากรณ์ค่ามลพิษในช่วงเวลาต่างๆ ได้ด้วย แอปพลิเคชันนี้มักจะให้ค่าระดับมลพิษที่สูงกว่า
3. Plume
แอปพลิเคชันน่าตาเรียบๆ ที่เท่ห์ด้วยรูปแบบการแสดงผลที่ค่อนข้างดูดี และลูกเล่นแพรวพราว มีการคาดการณ์ค่าเฉลี่ยตลอดทั้งปี และค่าความมั่นใจ (Confident Rate) ทำให้เรารู้ว่าค่าระดับมลพิษที่แสดงนั้นอาจจะมีความคาดเคลื่อนหรือแน่นอนเพียงไหน ความสามารถมีอย่างครบครันในแอพเดียว แต่แน่นอนว่าไม่รองรับภาษาไทย
เกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศสำหรับประเทศไทย
AQI | ความหมาย | สีที่ใช้ | แนวทางการป้องกันผลกระทบ |
0-50 | คุณภาพดี | ฟ้า | ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ |
51-100 | คุณภาพปานกลาง | เขียว | ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ |
101-200 | มีผลกระทบต่อสุขภาพ | เหลือง | ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังภายนอกอาคาร บุคคลทั่วไป โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ ไม่ควรทำกิจกรรมภายนอกอาคารเป็นเวลานาน |
201-300 | มีผลกระทบต่อสุขภาพมาก | ส้ม | ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมภายนอกอาคาร บุคคลทั่วไป โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ ควรจำกัดการออกกำลังภายนอกอาคาร |
มากกว่า 300 | อันตราย | แดง | บุคคลทั่วไป ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังภายนอกอาคาร สำหรับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ควรอยู่ภายในอาคาร |
ที่มา: http://aqmthai.com/aqi_info.php
คนไทย (โดยเฉพาะคนกรุงเทพ) เคยอยู่กันอย่างไร้กังวัลเรื่องมลพิษทางอากาศ แต่แน่นอนว่าแม้เราจะต้องเผชิญปัญญาเหล่านี้เช่นเดียวกับเมืองใหญ่ๆ หลายเมือง เราก็ต้องรู้จักวิธัการปรับตัวและเอาตัวรอดให้ได้ ท้ายที่สุดแล้วเทคโนโลยีมีมากมาย แค่รู้จักเลือกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ก็นับว่าคุณเป็นคนที่ปรับตัวเข้ากับยุคดิจิทัลในระดับหนึ่งแล้ว